วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน

โรงเรียนวัดโบสถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง และเป็นโรงเรียนนำร่อง 1 ใน 6 โรงเรียน ในโครงการเด็กออกกลางคันที่มาเข้าเรียนศูนย์พัฒนาการเรียนรูปแบบพิเศษ มีนักเรียนในโครงการ จำนวน 15 คน ซึ่งนักเรียนในกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่ออกจากระบบไปประกอบอาชีพแล้ว และอายุยังไม่พ้นเกณฑ์บังคับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 มีนโยบายในการนำเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบการเรียนอีกครั้ง ดังนั้นโรงเรียนจึงมีการค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มนี้ จึงได้จัดทำระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS : Learning Management System) บนเครือข่าย โดยทดลองนำร่องในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง 32101 รายวิชาอินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บบล็อก ช่วงชั้นที่ 3 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำหรับระบบการบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS : Learning Management System) ใช้ระบบ Open Source LMS “ATutor” ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ส่วน คือ

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และจำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนในรูปแบบ Streaming Media

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลยรายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้ Open Source LMS

และเพื่อการพัฒนาตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS : Learning Management System) ได้มีการจัดทำวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการเรียนบนเครือข่ายเรื่องอินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บบล็อก ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้กับนักเรียนในโครงการเด็กออกกลางคันที่มาเข้าเรียนศูนย์พัฒนาการเรียนรูปแบบพิเศษ โรงเรียนวัดโบสถ์ ที่เรียนรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) มีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนบนเครือข่ายของนักเรียน อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) หรือกลุ่มสาระอื่นๆ ในโอกาสต่อไป

ดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.lmsonline.net/watboad

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอความเห็นในแนวสุภาพชน คนมีการศึกษา นะครับ